Covid-19 กับมลพิษในอากาศ สัมพันธ์กันอย่างไร?

พฤศจิกายน 25, 2020

มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าการได้รับผลกระทบจากมลพิษในอากาศ ส่งผลให้ไวรัสโคโรนาติดเชื้อได้มากขึ้นและอันตรายยิ่งขึ้น

การศึกษาเรื่องนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายปี

ในปี 2003 นักวิทยาศาสตร์พบว่าผู้ที่ได้รับมลพิษในอากาศมากจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากไวรัส SARS มากขึ้นถึง 2 เท่า ซึ่งไวรัส SARS นั้นเป็นสายพันธุ์เดียวกันและมีลักษณะคล้ายกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ SARS-CoV-2) ถึง 80% ซึ่ง

อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อในพื้นที่ที่มีมลพิษสูงคือ 8.9% เทียบกับ 4.08% ของพื้นที่ที่มลพิษน้อย (1)

ความเชื่อมโยงระหว่าง COVID-19 กับมลพิษในอากาศ

นักวิจัยได้ค้นคว้าให้ลึกขึ้นถึงสาเหตุที่ว่ามลพิษในอากาศอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากเชื้อไวรัส COVID-19และการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ๆ ในปี 2020 มีงานวิจัยที่ทำให้กระจ่างขึ้น โดยศึกษาตัวรับเซลล์ 3 ตัวในปอดที่ไวรัสใช้เป็นทางเข้าสู่ปอด ประกอบด้วยเอนไซม์ ACE2 โปรตีน DC-SIGN และ L-SIGN 2 โดยตัวรับเซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่รักษาการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ด้วยการเปลี่ยนกรดอะมิโนและน้ำตาลไปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับกระบวนการทำงานที่สำคัญ โดยเอนไซม์ ACE2 ช่วยควบคุมความดันเลือด ส่วนโปรตีน DC-SIGN และ L-SIGN จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ

เมื่อเปรียบเทียบกับปอดของผู้ที่สูบบุหรี่ก็จะพบว่าตัวรับเซลล์ ACE2 จะอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสาเหตุเดียวกันกับปอดของคนที่สูดดมมลพิษต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยสัมพันธ์กับผลวิจัยจากวารสาร American Medical Association ในปี 2019 ที่ระบุว่า การหายใจรับก๊าซที่เป็นมลพิษและอันตรายต่อร่างกายอย่างโอโซนนั้น ทำให้ปอดได้รับความเสียหายไม่ต่างกับการสูบบุหรี่ 1 ซองใน 1 วัน 3

ถึงอย่างไรนั้น การอยู่ในพื้นที่มลพิษน้อยก็ส่งผลให้ปอดอ่อนแอและมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อรุนแรงหรือเสียชีวิตจากไวรัส COVID-19 ได้เช่นเดียวกัน ยืนยันได้จากงานวิจัยจาก the Harvard T.H. Chan School of Public Health ที่ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษในอากาศกับการรับติดเชื้อไวรัส COVID-19 ว่าเชื่อมโยงกันมากแค่ไหน 4 โดยศึกษาจากการเสียชีวิตจาก COID-19 กับค่าเฉลี่ยของ PM2.5 ในพื้นที่มากกว่า 3,000 เมืองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็น 98% ของประชากรทั้งประเทศ พบว่า

PM2.5 ทุก 1 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม. ที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงหรือเสียชีวิต COVID-19 ถึง 8%

นั่นอาจดูเป็นตัวเลขที่น้อย แต่เมื่อพิจารณาจากมุมมองอื่น WHO ระบุว่าค่าเฉลี่ยของมลพิษในอากาศสูงสุดที่ยังปลอดภัยคือ 10 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม.

ในแต่ละวันระดับมลพิษสามารถเปลี่ยนระดับจาก 1 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม. ในตอนเช้า ไปเป็น 10 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม. ได้ในช่วงสายและช่วงเย็น แม้จะยังต่ำกว่าระดับที่ WHO กำหนด แต่โอกาสที่คุณจะติดเชื้อรุนแรงหรือเสียชีวิตด้วย COVID-19 ก็เพิ่มขึ้นถึง 70%

ยังมีผลวิจัยที่น่าสนใจในหลายประเทศ ที่พิสูจน์ว่ามลพิษในอากาศสามารถเชื่อมโยงกับการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้จริง อาทิ

  • ในประเทศจีน กลุ่มนักวิจัยศึกษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 25,000 รายใน 72 เมือง พบว่าการเพิ่มขึ้นของ 5 อย่างมีนัยสำคัญใน 1 วัน ส่งผลให้ในอีก 2 สัปดาห์มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น 5
  • ในเนเธอร์แลนด์ เมื่อศึกษาข้อมูลจากมากกว่า 355 เมือง พบว่าทุก ๆ การเพิ่มขึ้นของ PM5 20% สามารถเพิ่มอัตราผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้เกือบถึง 100% 6
  • ในตอนเหนือของอิตาลี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีมลพิษสูงที่สดในยุโรป มีอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 สูงถึง 12% ซึ่งมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศถึง 3 เท่า 7

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีงานวิจัยจาก University of Montana ปี 2013 ที่ระบุว่า PM2.5 จากไฟป่า มีผลทำให้ภูมิต้านทานเชื้อไวรัสในร่างกายทำงานหนัก โดยการยับยั้งเซลล์ภูมิต้านทานที่เรียกว่า macrophages ซึ่งเป็นเซลล์ส่วนหน้าที่ควบคุมภาวะติดเชื้อในร่างกาย (8) รวมถึงงานวิจัยจาก BMC Pulmonary Medicine ปี 2014 พบว่ามลพิษที่เข้าสู่ร่างกายทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสูญเสียความสามารถในการยับยั้งเชื้อไวรัส จนเกิดการสร้างและขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสในปอด และถูกกำจัดได้ช้าลง จนกระทั่งลุกลามไปถึงอวัยวะสำคัญในร่างกาย (9)

อย่างไรก็ตาม แม้คนสุขภาพดี เมื่อหายใจรับ PM2.5 ที่เข้มข้นมากก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อรุนแรงหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ และเมื่อพิจารณาจากคุณภาพอากาศทั่วโลก ชุมชนที่มลพิษในอากาศส่งผลกระทบมาก ก็ยิ่งทำให้ผลกระทบจาก COVID-19 สูงขึ้น 10, 11,12

(1) Cui Y, et al. (2003). Air pollution and case fatality of SARS in the People’s Republic of China: An ecologic study. DOI: 10.1186/1476-069X-2-15
(2) Cai G, et al. (2020). A hint on the COVID-19 risk: Population disparities in gene expression of three receptors of SARS-CoV. DOI: 10.20944/preprints202002.0408.v1
(3) Wang M, et al. (2019). Association between long-term exposure to ambient air pollution and change in quantitatively assessed emphysema and lung function. DOI: 10.1001/jama.2019.10255
(4) Wu X, et al. (2020). Exposure to air pollution and COVID-19 mortality in the United States: A nationwide cross-sectional study. DOI: 10.1101/2020.04.05.20054502
(5) Wang B, et al. (2020). An effect assessment of airborne particulate matter pollution on COVID-19: A multi-city study in China. DOI: 10.1101/2020.04.09.20060137
(6) Andrée BPJ. (2020). Incidence of COVID-19 and connections with air pollution exposure: Evidence from the Netherlands.
(7) Smog in northern Italy. (2005)
(8) Migliaccio CT, et al. (2013). Adverse effects of wood smoke PM2.5 exposure on macrophage functions. DOI: 10.3109/08958378.2012.756086
(9) Esposito S, et al. (2014). Possible molecular mechanisms linking air pollution and asthma in children. DOI: 10.1186/1471-2466-14-31
(10) Hajat A, et al. (2015). Socioeconomic disparities and air pollution exposure: A global review. DOI: 10.1007/s40572-015-0069-5
(11) Air pollution hurts the poorest most. (2019).
(12) Low-income, black neighborhoods still hit hard by air pollution. (2019).

เกี่ยวกับ IQAir

IQAir เป็นบริษัทสัญชาติสวิสที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการฟอกอากาศ โดยมีจุดมุ่งหมายช่วยให้บุคคล องค์กรและชุมชนสามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศและการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2506 IQAir เป็นผู้นำระดับโลกและดำเนินงานในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

สินค้าแนะนำในบทความ

HealthPro 250

เครื่องฟอกอากาศอันดับ 1 สำหรับผู้ป่วยโรคภูแพ้และหอบหืด เทคโนโลยีแผ่นกรอง HyperHEPA หยุดยั้งแม้แต่อนุภาคที่เล็กที่สุด

IQAir HP250 - Rear view- Air purifier

AirVisual Pro

เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศพกพา พร้อมเลเซอร์สแกนเนอร์ที่ล้ำสมัยตรวจจับ PM2.5 ได้อย่างแม่นยำ แสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์ CO2, AQI, อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์

AirVisual Pro compare side by side