อากาศในรถแย่แค่ไหน เสี่ยงสุขภาพพังด้วยโรค ‘Sick Car Syndrome’

ธันวาคม 19, 2020

เรามักจะคิดว่าอากาศในรถสะอาดและปลอดภัยกว่าฝุ่นบนท้องถนนข้างนอก แต่อันตรายในอากาศไม่ได้มีแค่ควันรถ ยังมีฝุ่น PM2.5 ที่มีขนาดเล็กละเอียดที่เรามองไม่เห็น แบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงไวรัสต่าง ๆ ที่สะสมอยู่​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบแอร์ที่เรามักละเลยที่จะทำความสะอาด ไม่ว่าจะอยู่บนน้อยหรือมาก นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งของ “Sick Car Syndrome”

Sick Car Syndrome คืออะไร

Toxic Car Syndrome หรือ Sick Car Syndrome มีต้นตอจากการสะสมของอนุภาคขนาดเล็กภายในรถ ซึ่งมาจากการละเลยการทำความสะอาดพื้นที่ในห้องโดยสารเป็นเวลานาน รวมถึงระบบแอร์ที่หมุนเวียนอากาศทุกวัน จนกลายเป็นแหล่งของฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสต่าง ๆ ที่อันตรายไม่แพ้มลพิษที่อยู่ด้านนอก เมื่อหายใจสะสมอนุภาคเหล่านี้เข้าไปเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการไอ จาม ระคายเคืองตาและจมูก ภูมิแพ้ ง่วงซึม หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไปจนถึงระบบทางเดินหายใจผิดปกติ (1)

ลดพฤติกรรมทำรถสกปรก ต้นตอของอาการป่วย

รู้หรือไม่ การกินขนมบนรถ ทำเครื่องดื่มหก หรือทิ้งเศษขยะต่าง ๆ ก็เป็นต้นตอของการสะสมสิ่งอันตรายในรถได้ การดูแลความสะอาดภายในรถจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าการทำความสะอาดบ้าน เนื่องจากเราต้องสัมผัสกับพื้นผิวต่าง ๆ ในรถเป็นประจำอย่าง พวงมาลัย เกียร์ ปุ่มสัมผัสเครื่องเสียง แผงหน้าปัด และที่จับประตู และยังรวมไปถึงพื้นผิวของระบบแอร์ ทั้งช่องแอร์ ที่กรองแอร์ และวัสดุที่สะสมฝุ่น เมื่อเปิดพัดลมแอร์ สิ่งเหล่านี้จะลอยกลับขึ้นมาและกระจายไปทั่วรถ ในขณะที่เรายังต้องหายใจตลอดเวลาที่อยู่บนรถ จึงเป็นสาเหตุของโรค Sick Car Syndrome ตามมา

อันตรายที่มองไม่เห็นและต้องระวัง

แบคทีเรีย – งานวิจัยจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Biotechnology Information) พบว่าในรถเป็นที่ที่สกปรกที่สุดในโลก โดยเฉพาะแบคทีเรียที่สะสมตรงบริเวณพวงมาลัยเฉลี่ยแล้วสกปรกมากกว่าฝารองนั่งชักโครก (2) และมีจำนวนแบคทีเรียมากกว่าบริเวณปุ่มกดในลิฟท์สาธารณะถึง 2 เท่า ซึ่งโดยเฉลี่ยภายในรถมีแบคทีเรียสะสมมากกว่า 700 สายพันธุ์

เชื้อรา – บริเวณช่องแอร์มักเป็นที่สะสมของเชื้อรา ซึ่งใช้วิธีการกรองสารระเหยเปลี่ยนเป็นความเย็นภายในรถ เมื่อเปิดใช้นาน ๆ จะทำให้เกิดเชื้อราและราน้ำค้างอยู่ภายในช่องแอร์ เมื่อเปิดแอร์จะทำให้เชื้อรากระจายทั่วห้องโดยสาร ส่งผลให้เกิดการไอ จาม ระคายเคืองตา หรือแน่นหน้าอก

สารปนเปื้อนด้านนอก – อันตรายจากอนุภาคในอากาศไม่ได้มีเพียงในรถเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสารระเหย ควันไอเสียจากรถคันอื่น ๆ เขม่าควัน PM2.5 และควันบุหรี่ ที่มีโอกาสลอยเข้ามาในรถเมื่อเปิดหน้าต่างหรือประตู ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่แพ้อากาศในรถเลย

คาร์บอนมอนนอกไซด์ – ทุกครั้งที่คุณต้องเผชิญกับการจราจรติดขัดเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงต่อการหายใจรับคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่มาจากท่อไอเสียรถยนต์คันอื่น ๆ ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพอย่างคลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก

อย่าปล่อยให้รถทำสุขภาพพัง

ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถคือส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน การดูแลความสะอาดและใส่ใจเรื่องคุณภาพอากาศในห้องโดยสารจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ทั้งการล้างรถดูดฝุ่นเป็นประจำและการเลือกใช้เครื่องฟอกอากาศ ซึ่งในรถเป็นบริเวณที่เราใช้เวลาอยู่ไม่น้อยในแต่ละวันและมีลมพัดตลอดเวลา เครื่องฟอกอากาศที่เหมาะสมที่สุดจึงควรเป็นแบบที่มีแผ่นกรองเท่านั้น เพราะดักจับสิ่งสกปรกไว้และไม่ปล่อยให้กลับเข้ามาในรถ ในขณะที่เครื่องฟอกอากาศบางประเภทแค่ช่วยให้ฝุ่นตกลงสู่พื้นชั่วคราว เมื่อเวลาผ่านไปก็ลอยกลับขึ้นมาใหม่ รวมถึงควรพิจารณาระบบการทำงานต่าง ๆ ดังนี้

  • แผ่นกรองที่เล็กละเอียดระดับ HyperHEPA ซึ่งดักจับอนุภาคอันตรายละเอียดถึง 0.003 ไมครอน ตั้งแต่ฝุ่น PM2.5 แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และสารก่อภูมิแพ้
  • ส่วนผสมของตัวกรอง Activated Carbon ที่ช่วยดูดซับกลิ่นต่าง ๆ ตลอดจนสารระเหยที่เป็นอันตราย อย่างฟอร์มาลดีไฮด์จากสารเคลือบผิวต่าง ๆ และสารระเหยจากน้ำมัน
  • ระบบพัดลมในเครื่องฟอกอากาศที่มีความสามารถในการดูดและปล่อยอากาศได้มาก เพื่อให้กรองได้หลายรอบตลอดเวลาที่อยู่บนรถ

[1] shorturl.at/CMU35 

[2] blog.rainbowmuffler.net/blog/toxic-car-syndrome-3-ways-your-car-is-making-you-sick

เกี่ยวกับ IQAir

IQAir เป็นบริษัทสัญชาติสวิสที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการฟอกอากาศ โดยมีจุดมุ่งหมายช่วยให้บุคคล องค์กรและชุมชนสามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศและการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2506 IQAir เป็นผู้นำระดับโลกและดำเนินงานในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

แชร์บทความ