บทสรุป คุณภาพอากาศทั่วโลกประจำปี 2024 (2567)

มีนาคม 13, 2025

IQAir เปิดเผยรายงานคุณภาพอากาศโลกประจำปีฉบับที่  7  แสดงให้เห็นแนวโน้มที่น่าวิตกของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย  และภูมิภาคที่มีมลพิษสูงที่สุดในโลกประจำปี 2024

สำหรับรายงานปีนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านคุณภาพอากาศของ IQAir ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศกว่า 40,000 แห่ง ครอบคลุม 8,954 พื้นที่ใน 138 ประเทศ และภูมิภาคทั่วโลก

 ข้อค้นพบสำคัญจากรายงานคุณภาพอากาศโลก 2024:

– มีเพียง 17% ของเมืองทั่วโลกที่เป็นไปตามเกณฑ์ทางมลพิษทางอากาศขององค์การอนามัยโลก
– มีเพียง 7 ประเทศที่ผ่านเกณฑ์ ค่าเฉลี่ย PM2.5 รายปีตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก 5 µg/m³ ได้แก่: ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์เบโดส เอสโตเนีย เกรนาดา ไอซ์แลนด์ และนิวซีแลนด์

5 ประเทศที่มีมลพิษสูงสุดในปี 2024 ได้แก่:

ชาด (91.8 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 18 เท่า

บังกลาเทศ (78.0 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 15 เท่า

ปากีสถาน (73.7 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 14 เท่า

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (58.2 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 11 เท่า

อินเดีย (50.6 µg/m³) – สูงกว่าเกณฑ์ของ WHO กว่า 10 เท่า

91.3% ของประเทศและภูมิภาคทั่วโลก มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงเกินเกณฑ์ที่ WHO กำหนด

เบอร์นิฮัต, อินเดีย เป็นเขตเมืองที่มีมลพิษสูงที่สุดในปี 2024 ด้วยค่าเฉลี่ย PM2.5 รายปีที่ 128.2 µg/m³ \

 

แนวโน้มคุณภาพอากาศในภูมิภาคต่าง ๆ

เอเชียใต้และเอเชียกลาง เป็นที่ตั้งของ 7 ใน 10 เมืองที่มีมลพิษสูงสุดในโลก

อินเดีย ครองตำแหน่งประเทศที่มีเมืองมลพิษหนักติดอันดับโลกมากที่สุด โดย 6 ใน 9 เมืองที่มีมลพิษสูงสุดอยู่ในอินเดีย

สหรัฐอเมริกา: ลอสแอนเจลิสเป็นเมืองใหญ่ที่มีมลพิษมากที่สุด ส่วนออนแทรีโอ (แคลิฟอร์เนีย) เป็นเมืองที่มีมลพิษสูงสุดในประเทศ ขณะที่ซีแอตเทิล (วอชิงตัน) เป็นเมืองใหญ่ที่อากาศสะอาดที่สุด

มายากูเอซ (เปอร์โตริโก) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเขตมหานครที่อากาศบริสุทธิ์ที่สุดของปี 2024 ด้วยค่า PM2.5 เฉลี่ยเพียง 1.1 µg/m³

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: คุณภาพอากาศดีขึ้นในทุกประเทศ แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามพรมแดนและอิทธิพลของเอลนีโญ

แอฟริกา: ขาดแคลนข้อมูลคุณภาพอากาศอย่างหนัก โดยมีสถานีตรวจวัดอากาศเพียง 1 แห่งต่อประชากร 3.7 ล้านคน

ละตินอเมริกา: ไฟป่าในป่าแอมะซอนทำให้ค่าฝุ่น PM2.5 ในบางเมืองของบราซิลพุ่งสูงขึ้นถึง 4 เท่าในเดือนกันยายน

โอเชียเนีย: ได้รับการจัดอันดับให้เป็นภูมิภาคที่มีอากาศสะอาดที่สุด โดย 57% ของเมืองในภูมิภาคนี้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ WHO 

ประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมลพิษทางอากาศสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีค่าเฉลี่ย PM2.5 เกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ถึง 4 เท่า ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหามลพิษที่ยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

คุณภาพอากาศในประเทศไทยปี 2567 เป็นอย่างไร?

 

จากข้อมูลปี 2024 เมืองขอนแก่นมีค่าฝุ่น PM2.5 สูงที่สุดในประเทศไทย โดยกรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 4 สะท้อนถึงปัญหามลพิษที่ทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง โดยแนวโน้มมลพิษในภาคเหนือและภาคอีสานมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น

กรุงเทพมหานคร จมคงฝุ่นหนักตลอดทั้งปี 

ข้อมูลจาก IQAir แสดงให้เห็นว่า กรุงเทพฯ มีคุณภาพอากาศที่ดีเพียงแค่ 3 เดือนต่อปี ในขณะที่เมืองใหญ่อื่นๆ อย่างเชียงใหม่ นครราชสีมา และขอนแก่นเผชิญกับระดับฝุ่น PM2.5 สูงตลอดทั้งปี หลายเมืองในไทยมีมลพิษรุนแรงต่อเนื่องตลอดทั้งปีจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรกาจัดการคุณภาพอากาศ

ข้อมูลคุณภาพอากาศที่ไม่พอเพียงและบทบาทของชุมชน

แม้ว่าจะมีการขยายเครือข่ายตรวจวัดอากาศในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ชุดข้อมูลที่ขาดหายไปในแต่ะละพื้นที่ยังคงเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศราคาประหยัดที่ดำเนินการโดยประชาชน นักวิจัย และองค์กรชุมชน มีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้

“มลพิษทางอากาศเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่ประชากรส่วนใหญ่ยังคงขาดข้อมูลเกี่ยวกับระดับมลพิษที่พวกเขาเผชิญอยู่” Frank Hammes ซีอีโอของ IQAir กล่าว “ข้อมูลคุณภาพอากาศสามารถช่วยชีวิตได้ และช่วยสร้างความตระหนัก กำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข และให้อำนาจแก่ชุมชนในการดำเนินการลดมลพิษทางอากาศ”

 

Schools4Earth: ภารกิจขยายเครือข่ายตรวจวัดอากาศผ่านโรงเรียน

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ IQAir ได้เปิดตัวโครงการ Schools4Earth ซึ่งตั้งเป้าติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศให้กับโรงเรียนกว่า 1 ล้านแห่งทั่วโลก

ปัจจุบัน มีเพียง 21% ของประชากรโลกที่สามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ หากโรงเรียนทั่วโลกเข้าร่วมโครงการนี้ IQAir คาดการณ์ว่า 94% ของประชากรโลกจะสามารถเข้าถึงข้อมูลมลพิษทางอากาศแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยยกระดับการตอบสนองด้านสาธารณสุขและกระตุ้นให้เกิดมาตรการลดมลพิษ

“โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน ทำให้เป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศ การติดตั้งเครื่องตรวจวัดอากาศราคาประหยัดในโรงเรียนทั่วโลกจะช่วยให้ผู้คนกว่า 7 พันล้านคนสามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ และกระตุ้นให้เกิดขบวนการระดับโลกเพื่ออากาศที่สะอาดขึ้น” Hammes กล่าว

 

ข้อเรียกร้องจากผู้เชี่ยวชาญ: ถึงเวลาลงมือแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

รายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2024 เป็นเครื่องเตือนใจถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินมาตรการลดมลพิษทางอากาศในระดับนานาชาติ

“รายงานนี้ควรเป็นสัญญาณเตือนให้ทั่วโลกเร่งดำเนินการลดการปล่อยมลพิษ” Aidan Farrow นักวิทยาศาสตร์อาวุโสด้านคุณภาพอากาศจาก Greenpeace International กล่าว “มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเด็กและเยาวชน หากเราไม่ดำเนินการในวันนี้ ผลกระทบเหล่านี้จะส่งต่อไปยังคนรุ่นหลัง”

ดาว์นโหลด:  2024 World Air Quality Report, คลิกที่นี้.

เกี่ยวกับ IQAir

IQAir เป็นบริษัทสัญชาติสวิสที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการฟอกอากาศ โดยมีจุดมุ่งหมายช่วยให้บุคคล องค์กรและชุมชนสามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศและการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2506 IQAir เป็นผู้นำระดับโลกและดำเนินงานในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

Tag:

แชร์บทความ

สินค้าแนะนำในบทความ

AirVisual Pro

เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศพกพา พร้อมเลเซอร์สแกนเนอร์ที่ล้ำสมัยตรวจจับ PM2.5 ได้อย่างแม่นยำ แสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์ CO2, AQI, อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์

AirVisual Pro compare side by side